เตรียมตัวให้ดีก่อนเดินทางในช่วง ล็อกดาวน์ต่อ 14 วัน ควรทำอย่างบ้างมาดูกัน

Avatar admin
ล็อกดาวน์ 14 วัน หน้าปก

เตรียมตัวอย่างไรหากต้องเดินทางไกลในช่วง เพิ่มเวลาล็อกดาวน์ 14 วัน ??

หลายท่านที่อาศัยอยู่ภายในจังหวัด กทม. เมืองหลวงของประเทศ คงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว หลังจากมีประกาศสำคัญโดยรัฐบาลแจ้งกำหนดการ เพิ่มเวลาล็อกดาวน์ ต่ออีก 14 วัน ทำการ ซึ่งนี่ก็หมายถึงว่าการเดินทาง คมนาคมต่างๆ จะต้องถูกชะงักลงในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งก็ไม่อาจเป็นที่การันตีได้ว่าในช่วงเวลาล็อกดาวน์นั้น ไม่อาจมีผู้ใดที่จำเป็นหรือมีความฉุกเฉินในการเดินทาง ซึ่งหากเรามีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งวันนี้ทาง GGezBikeCo ขอเป็นส่วนหนึ่งในการกระจายข่าวให้เหล่าสิงห์นักบิดที่ต้องใช้ชีวิตในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ด้วยกัน ว่าควรจะทำอะไรบ้างหากเราจำเป็นต้องเดินทางในช่วงเวลานี้

ล็อกดาวน์ 14 วัน ประกาศ
ภาพโดย PostToday News

ศบค.แถลงผลการประชุมศบค.ชุดใหญ่ เพิ่มเวลาล็อกดาวน์ 14 วัน ตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.เป็นต้นไป หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นอาจพิจารณาขยายถึงสิ้นเดือนส.ค. พร้อมเพิ่มพื้นที่สีแดงเข้มเป็น 29 จังหวัด

ศบค. นอกจากจะมีการยกระดับความเข้มงวดในการเฝ้าระวังและควบคุมผู้ติดเชื้อ COVID-19 แล้ว ยังมีการประกาศมาตรการใหม่ คือสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางข้ามพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม จำเป็นจะต้องมีหนังสือรับรองเหตุผลในการเดินทางด้วย

– ผู้ช่วยโฆษก ศบค.กล่าวว่า “มาตรการจะเริ่มมีผลบังคับใช้หลังเที่ยงคืนวันที่ 2 ส.ค.64 ออกไปอีก 14 วันจะมีการประเมินผลในวันที่ 18 ส.ค.64 หากสถานการณ์ดีขึ้นก็จะผ่อนคลายมาตรการ แต่หากยังไม่ดีขึ้นอาจขยายเวลาต่อไปจนถึง 31 ส.ค.64 โดยมาตรการนี้ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนแล้ว”

ล็อกดาวน์ 14 วัน รูปนำเสนอ 01

– ที่ประชุมมีมติปรับเพิ่มพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) จากเดิม 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด โดยมีรายชื่อจังหวัดที่ถูกยกระดับขึ้นมา ดังนี้

  • กรุงเทพมหานคร
  • จังหวัดกาญจนบุรี
  • จังหวัดชลบุรี
  • จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • จังหวัดตาก
  • จังหวัดนครปฐม
  • จังหวัดนครนายก
  • จังหวัดนครราชสีมา
  • จังหวัดนราธิวาส
  • จังหวัดนนทบุรี
  • จังหวัดปทุมธานี
  • จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • จังหวัดปราจีนบุรี
  • จังหวัดปัตตานี
  • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • จังหวัดเพชรบุรี
  • จังหวัดเพชรบูรณ์
  • จังหวัดยะลา
  • จังหวัดระยอง
  • จังหวัดราชบุรี
  • จังหวัดลพบุรี
  • จังหวัดสงขลา
  • จังหวัดสิงห์บุรี
  • จังหวัดสมุทรปราการ
  • จังหวัดสมุทรสงคราม
  • จังหวัดสมุทรสาคร
  • จังหวัดสระบุรี
  • จังหวัดสุพรรณบุรี
  • จังหวัดอ่างทอง
ล็อกดาวน์ 14 วัน รูปนำเสนอ 02

มาตรการบังคับใช้ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัดมีดังนี้

  1. ห้ามออกนอกเคหสถาน 21.00-04.00 น.
  2. งดเว้นการเดินทางออกนอกเคหสถานโดยไม่จำเป็น
  3. ห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 5 คน
  4. ร้านอาหารห้ามบริโภคภายในร้าน เปิดได้ไม่เกิน 20.00 น. และขายแบบนำไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น
  5. ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า เปิดบริการได้ถึง 20.00 น. โดยให้เปิดได้เฉพาะ ร้านอาหาร/เครื่องดื่มขายผ่านเดลิเวอรี่เท่านั้น, ร้านยา/เวชภัณฑ์, ซูเปอร์มาร์เก็ต
  6. ปิดร้านเสริมสวยน ร้านนวด สถานเสริมความงาม
  7. ปิดสถานที่เล่นกีฬาหรือแข่งกีฬา
  8. สถานศึกษาทุกระดับ สถาบันกวดวิชา ห้ามใช้อาหารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน กิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมาก
  9. ที่ประชุม ศบค. เห็นชอบยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคในสถานประกอบกิจการ ทั้งในโรงงาน แคมป์แรงงาน บริษัท ในรูปแบบมาตรการป้องกันควบคุมโรคเฉพาะพื้นที่ หรือ Bubble and Seal ในพื้นที่ 16 จังหวัด สีแดงเข้ม

แนวทางปฏิบัตรหากมีความต้องการที่จะออกจากบ้านในช่วงเวลาที่กำหนด

ส่วนมาตรการใหม่สำหรับการล็อกดาวน์พื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้มในครั้งนี้ก็คือ ทาง ศบค. ขอให้ประชาชนงดการเดินทางที่ไม่จำเป็น โดยทางภาครัฐจะมีการตั้งด่านคุมเข้มในพื้นที่ทั้ง 13 จังหวัด และสำหรับประชาชนที่ต้องการ เดินทางเข้า-ออกจะมีแนวทาง 3 แนวทางปฏิบัติ เพื่อแสดงหลักฐาน เอกสารรับรอง หรือลงทะเบียนการเดินทาง กับเจ้าหน้าที่ในด่านด้วย ได้แก่

  1. การแสดงเอกสารหลักฐานอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ อาทิ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้อำนวยการเขต หัวหน้าสถานีตำรวจ
  2. ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ที่ด่านตรวจ
  3. ลงทะเบียนในเว็บไซต์หยุดเชื้อเพื่อชาติ https://covid-19.in.th/

ขณะที่ควบคุมเวลาการออกนอกเคหสถานหรือเคอรร์ฟิวพืนที่ 13 จังหวัด สีแดงเข้ม จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่ 21.00 น. – 04.00 น. โดยทั้งการเคอร์ฟิว และจำกัดการเดินทาง ออกนอกพื้นที่ 13 จังหวัด จะได้รับการยกเว้นสำหรับประชาชน 6 กลุ่ม ตามข้อกำหนดตามมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 27 ดังนี้

  1. ด้านสาธารณสุข ผู้ป่วย บุคลากรเจ้าหน้าที่
  2. การขนส่งสินค้าเพื่อประโยชน์ประชาชน เช่นอาหาร ยา พัสดุ สิ่งพิมพ์
  3. การขนส่งหรือขนย้ายประชาชน
  4. การให้บริการหรืออำนวยความสะดวกประชาชน เช่น ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ผู้ประสบภัย
  5. ประกอบอาชีพจำเป็น เปลี่ยนกะ ผลัดเวรยาม อาทิ รปภ. ก่อสร้าง กสิกรรม
  6. กรณีจำเป็นอื่น ขออนุญาตเจ้าหน้าที่เฉพาะราย

อย่างไรก็ดีในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ นอกจากนี่จะเป็นการป้องกันการติดเชื้อได้แล้ว ยังเป็นอีกวิธีที่ช่วยทำให้เชื้อไม่แพร่กระจายออกไปอีกด้วย ถึงแม้งว่าประกาศนี้จะทำให้ภาคธุรกิจ และ การทำงานของหลายคนประสบปัญหา ทางเราก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุนท่านสามารถผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้และหวังว่าเราจะสามารถกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้โดยเร็ววัน เพราะจากสถานการณ์ในตอนนี้เราต้องพึ่งพาตัวเองมากกว่าผู้อื่น

ด้วยความหวางดีจากทีมงาน GGezBikeCo

ข้อมูลจาก : www.posttoday.com

ติดตามข่าวจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ :  GGezBikeco

Facebook FanPage : GGezBikeco

เรียบเรียงโดย GGezBikeco 

Next Post

เปิดตัวรถสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าใหม่แห่งปี 2022 มาพร้อมความลงตัวและดีไซน์แห่งโลกอนาคต

เปิดตัว รถสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า รุ่นใหม่ ZAPP […]
รถสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า zapp i300 หน้าปก