เผยข้อมูลการวิเคราะห์ “11 ท่าสอบใบขับขี่ Bigbike”

Avatar admin

ทำความเข้าใจท่าที่ใช้สอบภาคปฏิบัติ ในการขอมีใบขับขี่ Bigbike หรือ รถจักรยานยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์สูงกว่า 400 ซีซี. ทั้งหมด " 11 ท่าสอบใบขับขี่ Bigbike "

เป็นที่ทราบกันดีว่าในปีนี้ได้มีข่าวประกาศออกมา เกี่ยวกับเรื่องการพลักดันกฏหมายในการครอบครองใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์หรือรถจักรยานยนต์ให้เหมาะสมกับสภาพยานพาหนะที่ใช้ เช่น “ถ้าคุณขับขี่รถจักรยานยนต์ bigbike ที่มีขนาดเครื่องยนต์สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คุณไม่สามารถใช้ใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ทั่วไปที่กำหนดขนาดเครื่องยนต์รถไว้ไม่เกิน 110 ซีซี. เพื่อรับรองความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะชนิดนั้นได้” วันนี้เราจึงจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักเกี่ยวกับ 11 ท่าสอบใบขับขี่ Bigbike ให้มากขึ้น

กล่าวคือนี่เป็นครั้งแรกเลยที่มีการพลักดันอย่างจริงจังเกี่ยวกับการขอมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์หรือมอเตอร์ไซค์แบบแบ่งเกรดหรือระดับของใบอนุญาตขับขี่ในประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ที่เราใช้แค่ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ประเภทเดียว (ใบขับขี่จักรยานยนต์ชนิดเดียวคือขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 125 ซีซี.) แต่ในปัจจุบันเนื่องจากปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เพิ่มสูงขึ้นทางภาครัฐเองจึงมีนโยบายให้ปรับปรุงการถือใบอนุญาติขับขี่เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการใช้รถประเภทนั้นๆ มากขึ้น

11 ท่าสอบใบขับขี่ Bigbike

ทำให้ล่าสุดมานี้ทางกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้มีนโยบายใหม่ที่กำลังจะบังคับใช้โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ สำหรับผู้ต้องการจะขับขี่รถจักรยานยนต์ BigBike ที่มีขนาดความจุของกระบอกสูบมากกว่า 400 ซีซี. โดยมีเนื้อความสรุป ดังนี้

เกณฑ์การขอรับใบอนุญาตขับขี่บิ๊กไบค์ และข้อกำหนด
กลุ่มที่ 1.
    เป็นผู้ที่มีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ปกติอยู่ก่อนแล้ว และมีการ ครอบครองรถบิ๊กไบค์ ไม่น้อยกว่า 2 ปี สามารถมายื่นขอใบขับขี่ได้อัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องทดสอบการขับขี่ หรืออบรมภาคปฏิบัติ เนื่องจากมีประสบการณ์แล้ว โดยเจ้าของใบขับขี่จะต้องมีชื่อและนามสกุลตรงกับชื่อผู้ครอบครองของรถบิ๊กไบค์
กลุ่มที่ 2.
    ผู้ที่มีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ปกติอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีอายุไม่น้อยกว่า 2 ปี จะต้องเข้ารับการทดสอบขับขี่ และอบรมหลักสูตรการขับขี่บิ๊กไบค์ก่อน
กลุ่มที่ 3.
    กลุ่มที่ไม่เคยมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ประเภทใดมาก่อนเลย จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 24 ปีเต็ม จึงจะยื่นขอรับใบขับขี่บิ๊กไบค์ได้ และจะต้องเข้ารับการทดสอบขับขี่ และอบรมหลักสูตรการขับขี่บิ๊กไบค์ก่อน

ซึ่งในวันนี้นั้นทางเราจะขอพาทุกท่านมาทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับท่าสอบต่างๆ ที่จะถูกใช้ในการสอบภาคปฏิบัติทั้งหมดจำนวน 11 ท่าด้วยกัน และเนื้อหาในส่วนนี้ต้องขอขอบคุณทาง Motorival ที่ได้แบ่งปันข้อมูลนี้มาไว้ให้เราทุกคนได้ทราบด้วย ซึ่งทาง Motorival ได้รับความอนุเคราะห์จากทาง ซูซูกิ โมโตเซล์ คอร์เปอเรชั่น ในการเอื้อเฟื้อสนามทดสอบและรถ Bigbike ในการทดสอบและวิเคราะห์ความน่าจะเป็นในการสอบใบขับขี่ bigbike โดยเนื้อหาและบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการสอบนั้นจะมีอะไรบ้าง ชมกันเลยครับ

ใบขับขี่บิ๊กไบค์ Bigbike 02 11 ท่าสอบใบขับขี่ Bigbike

วิเคราะห์ พร้อมคาดการณ์เงื่อไขในการผ่าน

1. การเบรกตามระยะที่กำหนด

ในข้อนี้ เรายังไม่ทราบเงื่อนไขว่าจะต้องวิ่งมาด้วยความเร็วเท่าไร และระยะทางที่กำหนดเป็นเท่าไร แต่จากการวิเคราะห์ของทางทีมเรา น่าจะต้องขับมาด้วยความเร็วคงที่ อาจจะสัก 60-80 กม. / ชม. ไม่น่าเกินนี้ ขึ้นกับความยาวสนามทดสอบด้วย โดยต้องเบรกให้รถหยุดนิ่งภายในระยะทางที่กำหนดน่าจะสักช่วง 5-10 เมตร

ในการสอบจริง ควรจะมีการตั้ง Pylon เพื่อ Mark จุดเบรก และมีกรอบ ให้จอดรถไม่เกินไปจากกรอบนี้

2. การเบรกกะทันหัน

ข้อนี้ หมายถึงการเบรกฉุกเฉิน ซึ่งน่าจะมีครูคุมสอบ ยืนถือธง เพื่อให้สัญญาณ โดยผู้ทดสอบ จะต้องขี่รถด้วยความเร็วคงที่เข้ามา ( คาดการณ์ ประมาณ 40-80 กม./ชม. ) และเมื่อผู้คุมสอบตีธง ผู้ขี่จะต้องเบรกให้รถหยุดนิ่งทันที

ซึ่งอาจจะมีการกำหนดเวลาเข้ามา เช่น หลังจากตีธง รถจะต้องหยุดนิ่งภายใน 5-10 วินาที เป็นต้น และรถนั้นจะต้องไม่เสียการควบคุม เช่น ห้ามล้อล็อก ลื่นไถล ท้ายปัด จนส่ายเป็นงู กล่าวคือ ต้องเบรกจอดในแนวตรง

3. การทรงตัวบนทางคดเคี้ยวที่มีสิ่งกีดขวาง

ข้อนี้ ก็คือ Slalom อาจจะตั้ง Pylon ให้ห่างกันแต่ะโคน ระยะประมาณ 5 เมตร.

4. การเข้าโค้งรูปแบบต่างๆ

แม้ไม่มีการระบุรายละเอียดของโค้งเอาไว้ แต่เราเชื่อว่า จะมีการการวางไลน์โค้งในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โค้งกว้าง, โค้งแคบ, โค้งหัก 90 องศา โค้ง U, โค้ง V, หรือ โค้ง ก.ไก่ เป็นต้น

5. การทรงตัวบนลูกระนาดและพื้นที่ขรุขระ

จำลองการทดสอบขี่ทรงตัวบนลูกระนาด รวมไปถึงการขี่ผ่านเส้นทางอุปสรรค ซึ่งมีพื้นที่ผิวที่ขรุขระ

6. การทรงตัวบนกระดานแคบ

ผู้ขี่จะต้องค่อยๆขี่ช้าๆ ทรงตัวบนแท่นกระดานแคบๆ โดยต้องเริ่มจากจุดเริ่มต้นไปยังปลายทาง ให้ช้าที่สุด ซึ่งน่าจะมีการกำหนดเวลาไว้เช่น ห้ามเร็วกว่า 10 วินาที

7. การทรงตัวบนพื้นที่ทางแคบรูป S

ข้อนี้ เราคาดว่าเป็นการเข้าโค้งแคบรูปตัว S คิดว่าไม่ใช่การทรงตัวบนกระดานรูปตัว S ไม่น่าจะให้ทรงตัวบนกระดานแคบรูปตัว S และข้อนี้จะต่างจากข้อ 4 ตรงที่ ข้อ 4 จะเป็นโค้งที่มีพื้นที่ในการเลี้ยวกว้าง แต่ข้อ 7 นี้ จะเป็นพื้นที่แคบๆ ซึ่งผู้ทดสอบจะต้องห้ามขี่เลย หรือ บานโค้งออกจากเส้นทาง

8. การทรงตัวบนพื้นที่ทางแคบรูป Z

ในข้อนี้ น่าจะเหมือนกับข้อ 7 แต่เปลี่ยนเป็นขี่บนทางแคบตัว Z และน่าจะเป็นท่าสอบที่ยากที่สุดในทั้งหมด

9. การทรงตัวบนพื้นที่ทางแคบรูป 8

ในข้อนี้ จะเหมือนกับข้อ 7-8 แต่เปลี่ยนเป็นขี่บนทางแคบเลข 8

10. การหยุดและการขึ้นทางลาดชัน

อันนี้จำลองเวลาเราต้องจอดรถบนตีนสะพาน หรือทางลาดชัน และต้องออกตัวไปต่อเมื่อไฟเขียว โดยไม่ให้รถไหล

11. การเปลี่ยนเกียร์ก่อนเข้าโค้ง

ในข้อนี้ จะเป็นการใช้เทคนิค Engine Brake ดูทักษะในการชะลอความเร็วด้วยการ Shift Down (ลดเกียร์ลง) ซึ่งน่าจะมีการกำหนดให้ผู้ทดสอบวิ่งเข้ามาในเกียร์ 3-4 ก่อนถึงโค้ง และทำการลดเกียร์ลง ดูว่าสามารถคอนโทรลรถให้เข้าโค้งได้หรือไม่

ในข้อนี้ผมมองว่ารถที่มีระบบช่วยอย่าง Slipper Clutch จะช่วยได้ แต่ถ้ารถที่ไม่มีระบบนี้ ผู้ทดสอบอาจก็สามารถใช้ Rev Matching เบิ้ลเครื่องในจังหวะลดเกียร์ลงเพื่อไม่ให้ล้อล็อก หรือ ล้อสะบัดส่าย จนเสียการควบคุม

เอาล่ะครับก็จบลงไปแล้วกับการวิเคราะห์โดยทีมงาน MotoRival ซึ่งผมต้องขอย้ำนะครับ ว่านี่เป็นเพียง “การวิเคราะห์” เฉยๆ ยังไม่ได้ยืนยันคอนเฟิร์มว่า จะสอบในท่าแบบนี้เป๊ะๆ อาจจะมีเรื่องการกำหนดความเร็ว หรือ การจับเวลาเพิ่มเข้ามา ซึ่งตรงนี้พวกเราต้องมารอดูอัพเดทกันต่อไปครับ

ข้อมูลจาก : www.motorival.com

ติดตามข่าวจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ :  GGezBikeco

Facebook FanPage : GGezBikeco

เรียบเรียงโดย GGezBikeco 

Next Post

Bimota KB4 นีโอ-คาเฟ่ สายพันธุ์อิตาลี่ พร้อมรูปหลุดใหม่สุดเซ็กซี่

แวะชมรูปหลุด สุดเซ็กซี่ NEW Bimota KB4 น […]