คลัตช์เปียก Vs คลัตช์แห้ง คืออะไร? ต่างกันอย่างไร ควรใช้แบบไหนดี สายซิ่งต้องรู้

Avatar admin
wallpaper

สวัสดีครับ วันนี้ทาง GGezBikeCO จะพาไปทำความรู้จักกับ “clutch plate” กับมุมเล็กๆ ระหว่างเครื่องยนต์กับชุดเกียร์ หลายๆ คนคงรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่าเจ้า คลัตช์ หรือ แผ่นคลัตช์ มีหน้าหน้าที่อะไร ทำงานยังไง แค่สำหรับใครที่ยังไม่รู้ หรือ ผู้ขับขี่หน้าใหม่ หน้าที่ของเจ้าคลัตช์ คือ “การช่วยตัดกำลังเครื่องยนต์ และ ส่งกำลังเครื่องยนต์ ในคราวเดียวกัน โดยหน้าที่การตัดกำลังเครื่องยนต์ ก็เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถออกตัว และ เปลี่ยนเกียร์ได้อย่างนุ่มนวล และ ต่อเนื่องไปถึงเรื่องของ การส่งกำลังตามรอบเครื่องยนต์ โดยที่ตัว คลัตช์ จะต้องทำหน้าที่ในการส่งกำลัง ให้เป็นไปตามรอบความเร็วของเครื่องยนต์ในขณะนั้นด้วย” ดังนั้น ชุดคลัทช์เป็นอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งที่ถือว่ามีว่ามีความสำคัญต่อการขับขี่และสมรรถภาพ ของเครื่องยนต์ และ แน่นอนว่าเมื่อคลัทช์ถูกใช้งานไปนานก็ย่อมมีเสื่อมไปได้เหมือนกัน อย่างที่เราเรียกกันว่า คลัทช์หมด หรือ คลัทช์ลื่น กันนั่นเอง แต่ก่อนจะไปถึงเรื่องนั้นเรามาทำความรู้จักกับ คลัตช์ ก่อนดีกว่า 

clutch plate Type 01

โดยเจ้าคลัตช์เนี่ย ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท นั่นคือ แบบ แห้ง(Dry) กับ แบบเปียก(Wet) เชื่อว่าหลายๆ คนคงคุ้นเคยกับ คลัตช์แบบเปียก กันอยู่แล้วเพราะว่า ในรถรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาไม่ว่าจะ Bigbike หรือ รถเก๋ง ก็ล้วนแล้วแต่เป็นคลัตช์เปียกแล้วทั้งสิ้น ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าความแตกต่างของคลัตช์ 2 ประเภทนี้นั้น มันแตกต่างกันยังไง ทำงานเหมือนกันรึเปล่า แบบไหนมีข้อดี-ข้อเสียต่างกันยังไง แต่ละแบบเหมาะกับการใช้งานแบบไหน ไปชมกันเลย

คลัตช์แห้ง (Dry Clutch)

Dry clutch topic

คลัตช์แห้ง (Dry) คือ การที่แผ่นคลัตช์นั้นจับกันอย่างเพียวๆ ไม่มีน้ำมันหล่อลื่น จึงทำให้การทำงานของคลัตช์ประเภทนี้นั้น มีเสียงดัง(มาก) ความร้อนที่ค่อนข้างสูง เพราะว่าไม่มีการหล่อเย็นเกิดขึ้นเลย ตัวแผ่นคลัตช์ จะมีความสกปรกค่อนข้างง่าย และ สูง เนื่องจาก ไม่มีน้ำมันเครื่องเข้ามาชะล้างให้ เวลาที่มันกำลังทำงาน หรือ ถูกใช้งาน นอกจากนี้ คลัตช์แห้งส่วนใหญ่ จะถูกใช้งานบนระบบที่เปิด ไม่ได้ถูกปิดมิดชิดเหมือนคลัตช์เปียก ทำให้มีคราบฝุ่น หรือ เศษผงเข้าไปภายในได้อีกเช่นกัน แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้แย่ไปซะทีเดียว เพราะการทำงานแบบดิบ ๆ เนี่ยแหละ ทำให้ คลัตช์แห้ง สามารถส่งผ่านกำลังจากเครื่องยนต์ มาสู่ชุดเกียร์ได้แบบเต็มที่ ดุดัน และดิบเถื่อน เลย ตัวอย่างเช่น เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว  รถจักรยายนต์จากค่ายอิตาลี่ ก็ให้คลัตช์แห้งมาจากโรงงานทำให้หลายๆ คนกล่าวกันว่า รถจักรยานยนต์ค่ายนี้ในยุคนั้น ทั้งดิบ และ ทั้งดุมาก นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไม ผู้ใช้รถ Ducati ยุคปี 2000-2010 ถึงพูดกันอยู่เสมอว่ารถของค่ายนี้ดุดันเป็นอย่างมาก ส่วนนึงก็มาจากระบบ คลัทช์แห้ง ที่ติดตั้งมาให้ในรถนั่นเอง จนกระทั่งในยุคหลังๆ มานี่เอง ทางค่ายเพิ่งจะหันกลับไปใช้คลัทช์เปียก เพื่อเอาใจลูกค้าหน้าใหม่ ที่ต้องการความสะดวกสบายในการใช้งานมากขึ้น แลกกับการเสียข้อดีของมันที่มีเพียงน้อยนิดไป อันเนื่องมาจาก คลัตช์แห้ง ไม่มีการหล่อลื่นทำให้ผ้าคลัตช์หมดเร็วมากๆ ประกอบกับการขับที่ยากด้วยทำให้ คลัตช์แห้งค่อยๆ ถูก ลืมเลื่อนไป.

clutch plate Dry clutch 01
clutch plate Dry clutch 02

คลัตช์เปียก (Wet Clutch)

Wet-clutch

คลัตช์แบบเปียก (Wet Clutch) หรือ “คลัตช์แบบเปียกหลายแผ่นซ้อนกัน” จะกล่าวว่าคือคลัตช์แบบเดียวกันเลยก็ว่าได้ การทำงานของคลัตช์เปียกนั้น ทำงานในรูปแบบเดียวกันกับคลัตช์แห้งเพียงแต่ “กลับกันทุกอย่าง” เพราะว่า เจ้าคลัตช์เปียกเนี่ย จะทำงานอยู่ใน น้ำมันเครื่อง ทำให้ตัวของคลัตช์นั้น มันเปียกตลอดเวลา เลยทำให้ข้อเสียทั้งหลาย ของคลัตช์แห้ง ถูกลบออกไป แต่มันก็ไม่ได้ลบไปเฉพาะข้อเสียน่ะสิครับ ในด้านของสมรรถนะก็ถูกบั่นทอนลงไปค่อนข้างเยอะด้วยเช่นกัน แต่มันแลกมาด้วยอายุการใช้งานที่ยาวขึ้น เรียกได้ว่าใช้จนลืมเลยก็มี เสียงเมื่อเปรียบเทียบกับ คลัตช์แบบแห้ง แล้วจะเงียบลง(มาก) ความร้อนก็ลดลงไปทำให้คลัตช์เปียกถูกนำเข้ามาใช้ทกแทนคลัตช์แห้งในที่สุดนั่นเอง

Dry clutch upgrade

แต่ในปัจจุบัน การอัพเกรด จาก คลัตช์แบบเปียก ไปเป็น ครัตช์แบบแห้ง ก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ครับ ตามสนามแข่ง หรือ แม้แต่บนท้องถนน หากได้ยินเสียงแล้วล่ะก็ ให้ฟันธงได้เลยว่ารถคันนี้ใช้งาน คลัตช์แห้ง อย่างแน่นนอน ซึ่งชุดอัพเกรดคลัตช์แห้งนั้น ในปัจจุบันก็ไม่ได้มีราคาที่แพงมากนักสำหรับยุคนี้ มีตั้งแต่ราคา หลักหมื่น ไปจนเกือบๆ เเสนบาทเลยก็มี

เป็นอย่างไรบ้างกับเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ของ “คลัตช์” ที่เรานำมาฝากกันหวังว่าเพื่อนๆ คงได้รู้จักกันมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ขับขี่หน้าใหม่ หรือ เหล่านักซิ่งหน้าใหม่ที่ คลัตช์แห้งแทบจะไม่เป็นที่รู้จักกันแล้ว.

คลัตช์หมดหรือสึกหรอ

ไม่ว่าจะเป็นคลัตช์แบบไหนเมื่อถึงเวลาที่เปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยน แต่จะเปลี่ยนเมื่อไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับเวลา ,,, แล้วจะรู้กันได้อย่างไร…??? ก่อนที่จะเปลี่ยนอะไหล่ชุดคลัตช์นั้น รถก็จะมีอาการบอกให้ได้ทราบกันก่อน แต่ว่าก็ต้องสังเกตอาการนิดนึ่งว่า เมื่อไหร่ที่จะต้องเปลี่ยน การสังเกตนั้นก็ไม่ยาก โดยปกติแล้วเมื่อเรา บีบ-ปล่อย คลัตช์ของรถมอเตอร์ไซค์ก็จะค่อยๆ เคลื่อนตัวออกไปในทันที อาจจะบิดคันเร่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น รวมถึงจังหวะการเปลี่ยนเกียร์เองก็จะมีความนุ่มนวลในทุกเกียร์  แต่ถ้าหาก คลัทช์เริ่มหมด !!

คลัทช์เริ่มหมดหรือมีอาการสึกหรอ คือ เมื่อเริ่มออกตัวรถจากที่เคยใช้คันเร่งเท่าเดิม กลายเป็นว่าเราต้องเติมคันเร่งให้มากขึ้น เพื่อให้รถสามารถเคลื่อนตัวข้างหน้าได้ เช่นเดียวกับช่วงจังหวะการเปลี่ยนเกียร์จากที่มีความนุ่มนวลก็อาจจะมีอาการสะดุดของรถหรือว่าเกิดอาการเกียร์ไม่เข้าหรือที่พูดกันจรติดปากว่าเปลี่ยนเกียร์ยาก นั้นเอง รวมไปถึงในช่วงที่มีการใช้รอบเครื่องยนต์หรือบิดคันเร่งในช่วงจังหวะที่ต้องการใช้ความเร็ว เสียงรอบเครื่องยนต์ดังขึ้นแต่ว่าความเร็วนั้นกลับไม่เร็วขึ้นนั้นเอง นี่ก็เป็นการสังเกตอาการของ คลัทช์หมด ในเบื้องต้น เช่นเดียวกับรถออโตเมติก เมื่อบิดคันเร่งไปแล้วรอบเครื่องยนต์ดังขึ้น แต่ว่าความเร็วกลับคงที่ หรือ ว่าช้ากว่าปกติ

สาเหตุของคลัทช์หมด

เรื่องของ คลัทช์หมดหรือว่าคลัทช์ลื่น นอกจากการเปลี่ยนคลัทช์ ตามอายุการใช้งานแล้ว อีกหนึ่งสาเหตุ ที่ต้องทำให้เปลี่ยนคลัทช์ ก็คือการที่ผู้ขับขี่อาจจะเผลอใช้นิ้วมือเกี่ยวอยู่ที่มือคลัทช์ ซึ่งตรงนี้อาจจะต้องระวังกันนิดนึ่ง เพราะจังหวะที่นิ้วของเรา อาจจะไปกดก้านคลัทช์ได้โดยที่เราไม่ทันระวังตัว หรือ ไม่ทันรู้สึกตัว เช่น ขณะขับขี่ เป็นต้น ส่วนมากจะเป็นความเคยชินมากกว่า ทำให้คลัทช์นั้นถูกใช้งานไปได้โดยไม่รู้ตัว ในขณะเดียวกันเครื่องยนต์ก็ไม่สามารถถ่ายทอดกำลังไปได้หมด จะสังเกตได้คือจะคล้ายๆ อาการของคลัทช์หมดหรือว่าคลัทช์ลื่น รถจะไม่สามารถทำความเร็วได้เท่าที่ควร แต่จะใช้รอบเครื่องยนต์มากกว่าปกติ และอาจจะทำให้เข้าใจผิดว่าคลัทช์หมดหรือว่าคลัทช์ลื่นกันได้เลย แต่แท้จริงแล้วเป็นเพราะว่านิ้วไปเกี่ยวเอามือคลัทช์ บ่อยเข้าคลัทช์เกิดหมดขึ้นมาจริงๆ คราวนี้ก็ลองสังเกตกันนิดหนึ่งระหว่างที่ใช้งานรถกันอยู่ทุกวัน ถ้าหากวันไหนที่รู้สึกว่าต้องใช้รอบเครื่องยนต์มากกว่าปกติที่เคยเป็นก็สามารถสันนิษฐานได้เลยว่าเป็น อาการคลัทช์หมด ถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแล้ว แต่ถ้าให้ชัวร์ก็ให้นำรถเข้าศูนย์บริการเลยดีกว่า เพราะถ้าหากปล่อยให้คลัทช์หมด คราวนี้ได้กินข้าวลิงกันแน่ๆ ครับ เพราะว่าจะไม่สามารถขับไปไหนได้เลยจะได้ยินแค่เสียงรอบเครื่องอย่างเดียวแต่รถจะไม่วิ่ง ไม่ว่าจะใช้เกียร์อะไรก็ตาม และทางที่ดีใช้คลัทช์เดิมหรือของศูนย์บริการนั้นก็จะดีและแน่นอนที่สุดครับ

ข้อมูลจาก: car.boxzaracing.com

ติดตามข่าวจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ : GGezBikeco

เรียบเรียงโดย GGezBikeco

Facebook FanPage : GGezBikeco

Next Post

Honda Repsol เปิดตัว “มาร์เกซ-เอสปาร์กาโร่” MotoGP 2021

Honda ประกาศ “มาร์เกซ-เอสปาร์กาโร่” หวนค […]
Honda